Saturday, 4 May 2024
อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ (น้ำนุ่น)

โลกยุคใหม่ "Real Size Beauty" รูปร่างไม่สำคัญ! เท่าความงามทางความคิด

เพิ่งผ่านการประกวด Miss Universe Thailand 2021 ไปไม่ถึงหนึ่งเดือน มีหลาย ๆ สื่อพร้อมใจกันพาดหัวข่าวว่า "มงลงไม่พลิกโผ" สำหรับ... “แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส” ที่มาพร้อมกับ “Power of Passion” ซึ่งเธอ คือผู้เข้าประกวดที่นอกเหนือจากความเก่งรอบด้าน ทั้งความสามารถด้านการเรียน กีฬา การทำงานแล้ว นอกจากนี้เธอยังมาพร้อมกับความภูมิใจในรูปร่างของตนเอง กับคอนเซปต์ "Real Size Beauty" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนมุมมองของนางงามในรูปแบบใหม่ ๆ และเป็น Power of Passion ที่สร้างแรงกระเพื่อมให้กับผู้ที่ได้ติดตามไม่น้อยเลย โดยเฉพาะในโลกโซเชียล หรือแม้กระทั่งความนิยมในวันที่มีการถ่ายทอดสดรอบตัดสินทางช่อง PPTV ตัวเลขเรตติ้งช่วงที่สูงที่สุดขึ้นไปถึง 1.774 โดยมีเรตติ้งรวมทั้งประเทศ 0.959 ถือเป็นรายการที่สร้างเรตติ้งในลำดับแรก ๆ ของทางช่อง PPTV ได้ในช่วงของสมรภูมิรายการทีวีที่ดุเดือด 

แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส Miss Universe Thailand 2021

ผู้เขียนได้เปิดประเด็นเรื่องของการประกวด MUT 2021 ในรายวิชา MEDIA CRITICISM AND SOCIAL CONTEXT ของนิสิตปริญญาโทที่วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ผู้สอนเขียนได้มีโอกาสสอนในเทอมนี้ จึงได้ทราบว่า การประกวดนางงามไม่ได้เป็นที่สนใจเฉพาะสาว ๆ เท่านั้น แต่มีหนุ่ม ๆ ที่สนใจดูการประกวดด้วยเช่นกัน ด้วยความน่าสนใจคือเรื่องของการนำเสนอ และการตอบคำถามของผู้เข้าประกวด ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสวยบนเวทีการประกวดต้องมาพร้อมกับความเก่ง ทั้งในด้านบุคลิกภาพ การแสดงออก และอีกหนึ่งอย่างที่ตัดสินกันบนเวทีหน้างานคือการตอบคำถาม 

เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราในฐานะผู้ติดตามการประกวดจะได้เห็นอีกมิติหนึ่งของนางงาม ทั้งในด้านความคิด ทัศนคติ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ซึ่งการตอบคำถามของผู้เข้าประกวดในแต่ละปีมีความน่าสนใจที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยคำถามแต่ละปีจะมีการเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ ในสังคมอีกด้วย และไม่ใช่แค่เวทีในประเทศ แต่รวมถึงเวทีระดับโลกที่มีการเชื่อมโยงกับประเด็นต่าง ๆ ในสังคมเช่นเดียวกัน 

นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันประเด็นต่าง ๆ ในสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง อย่างกรณีของ “แอนชิลี” กับการผลักดันเรื่อง "Real Size Beauty" และความภาคภูมิใจในตัวเอง ความเป็นธรรมชาติของเธอที่สามารถเอาชนะใจกรรมการและคนไทยที่ติดตามชมอยู่ได้อย่างไม่ยากเลย และประเด็นที่แอนนำเสนอ ก็สามารถขับเคลื่อนความคิดในระดับปัจเจกบุคคลไปสู่ความคิดในระดับสังคมได้อีกด้วย กับการเริ่มต้นการรักตัวเอง เป็นสิ่งที่เราทำได้ก่อนจะออกมาสู่สังคมในระดับประเทศ 

นอกจากการจุดประกายประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากตัวนางงามในมุมระดับปัจเจก อีกหนึ่งมิติที่เราได้เริ่มเห็นจากตัวนางงามในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา คือ การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ในประเด็นต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การเมือง การปกครอง สิทธิ เสรีภาพ เป็นต้น 

“Soft Power” เครื่องมือเปลี่ยนแปลงประเทศ สร้างชาติ - เศรษฐกิจ

ย้อนกลับไปดูในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา กระแส Soft Power ถูกนำกลับมาพูดอีกครั้ง ผ่านความสำเร็จใน Solo เดี่ยวครั้งแรกของ “ลิซ่า Blackpink” และเกิดการตั้งคำถามว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ มีปัจจัยอะไรประกอบกันบ้าง เพราะหลังจากที่ได้ปล่อยเพลงออกมาพร้อมกับมิวสิกวิดีโอ ดูเหมือนว่าทุกอย่างในมิวสิกวิดีโอจะกลายมาเป็นกระแสให้ถูกพูดถึง และข่าวทุกช่อง ทุกสำนักมีการนำเสนอ เช่น การนับจำนวนเสื้อผ้าที่ใส่ใน MV ว่ามีทั้งหมดกี่ชุด, ฉากต่าง ๆ ในมิวสิกวิดีโอที่มีการวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ส่งผลให้มีการ Cover ทั้งจากคนดังในวงการบันเทิง และคนทั่วไปอย่างท่วมท้น รวมไปถึงยอดวิวในยูทูบและยอดสั่งจองซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย

กระแสความแรงของลิซ่าไม่ได้อยู่แค่ในผลงานของตัวเอง แต่อิทธิพลความดังและการเป็นผู้นำทางความคิดยังแสดงให้เห็นผ่านการให้สัมภาษณ์ในรายการ “วู้ดดี้โชว์” ที่ได้พูดถึงอาหารโปรดของลิซ่า นั่นก็คือ “ลูกชิ้นยืนกิน” ที่มีน้ำจิ้มพริกเผารสเด็ดเป็นจุดเด่น อยู่หลังสถานีรถไฟบุรีรัมย์ ที่คุณแม่เคยพาไปกินสมัยเด็ก ๆ จากนั้นก็ทำให้กระแสการกินลูกชิ้นโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน ขายดิบขายดี มีทั้งส่งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ หรือแม้แต่การจัดงานเป็นเทศกาล มีการกินลูกชิ้น การแสดง Cover เพลงและแต่งตัวตามในมิวสิควิดีโอของลิซ่า ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถือว่าทำให้เศรษฐกิจคึกคักขึ้นมาได้ในช่วงที่ต้องประสบกับสภาวะโควิด-19 แบบนี้ 

นี่คือความ Mass ที่สามารถเข้าถึงมวลชนได้อย่างไร้ที่ติ ผ่านการนำเสนอจากทุกช่องทางของสื่อมวลชน กลายเป็นผู้นำทางความคิด และเกิดกระแสการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ได้เห็นกันจากปรากฏการณ์นี้ ความสำเร็จนี้ จากทั้งความสามารถของลิซ่า และการฝึกฝนของค่าย YG Entertainment ที่ทำให้ลิซ่าได้กลายมาเป็นศิลปินที่มีผลงานอย่างโดดเด่น ประสบความสำเร็จทั้งในระดับเอเชียและทั่วโลก แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของ Soft Power ที่เราชอบพูดถึงกันนั้นมันเป็นอย่างไร 

กระแสลิซ่ากลายเป็นกรณีศึกษาทั้งในแวดวงบันเทิง และวงการการศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ ที่เราได้เห็นบทสัมภาษณ์ของนักวิชาต่าง ๆ ได้ออกมาถ่ายทอดแต่ละมุมมองที่ต่างกันไป ทั้งเรื่องของเพลง ศิลปะ วัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ซึ่งทุกคนได้เห็นแล้วว่าแม้จะเป็นเพลงที่ร้องผ่านภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ แต่ความสากลของดนตรี ก็มิได้เป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นเรื่องของภาษา เหมือนกับซีรีส์เกาหลีเรื่องต่าง ๆ ที่เราได้ดูและชื่นชอบ ก้าวข้ามผ่านจากความสำเร็จในประเทศ ออกสู่ต่างประเทศและขยายไปในวงกว้าง 

ซึ่งนอกจากปรากฏการณ์ความสำเร็จของลิซ่าในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ถูกพูดถึงและหยิบยกมาศึกษา อีกหนึ่งกรณีตัวอย่างที่ตอกย้ำความสำเร็จว่าการจะขายวัฒนธรรมของประเทศ คือการคุยในเรื่องที่พลเมืองโลกสนใจ แม้จะเป็นงานทางด้านดนตรี ก็ต้องมีการสร้างสรรค์งานที่ทำให้คนยอมรับได้ในแบบสากล

การเปลี่ยนแปลงยุคโควิด คือพิษไวรัส! ที่สะเทือน ‘วงการบันเทิง’

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ยังคงทำให้ประชาชนชาวไทยต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก และยังส่งผลกระทบให้กับทุกอาชีพ ทุกวงการ และเหมือนว่าประชาชนจะต้องค่อย ๆ ปรับตัวให้อยู่กับโรคนี้แบบไม่สามารถปฏิเสธได้ ความคาดหวังในการจะกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเมื่อไหร่ ... เป็นสิ่งที่เราทุกคนปรารถนาให้เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด 

ซึ่งสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในตอนนี้ทุกคนคาดหวัง คือการได้รับการดูแลที่ดีจากรัฐสวัสดิการ การได้รับการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและเร็วที่สุด เพราะนี่คืออีกหนึ่งความหวังและเป็นตัวแปรที่จะสามารถช่วยลดสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ 

และจากการคาดการณ์เทเลนอร์รีเสิร์ช ได้นำเสนอให้เห็นถึงเทรนด์หลังยุคโควิด-19 ที่จะทำให้โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งสิ่งที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนมาก ๆ คือโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนที่เคยมีเคยทำกันมา จะถูกเปลี่ยนไปสู่โลกดิจิทัล ทั้ง AI ที่เข้ามามีบทบาทต่อตลาดแรงงาน หรือ DATA ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการทำนายอนาคตและช่วยคาดการณ์ทั้งด้านสาธารณสุข การพัฒนาเมือง สิ่งแวดล้อม และเป็นสิ่งที่เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง 

ซึ่งหากประเทศไหนที่ไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงหรือยังไม่เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานในการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นประเทศที่จะถูกลืม หรือไล่ตามประเทศอื่นไม่ได้ก็ได้ 

ส่วนมิติของการสื่อสาร วงการสื่อสารมวลชน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างหลังจากนี้ ตอนนี้ที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือ อุตสาหกรรมบันเทิงส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กองถ่ายละคร ที่ต้องหยุดการถ่ายทำตามมารตรการของภาครัฐ ทำให้เราได้เห็นการรีรันของละครแต่ละช่องด้วยสถาการณ์ที่ถูกบังคับให้ต้องทำ ส่งผลต่อเรตติ้งของแต่ละสถานีที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ หรือการถ่ายทำรายการที่ใช้เทคโนโลยีวิดีคอล โดยที่แขกรับเชิญไม่ต้องมาร่วมในรายการ อยู่ตรงไหนก็สามารถร่วมรายการสดได้ รวมถึงการดูคอนเสิร์ตผ่านหน้าจอทีวีแบบ Streaming Live หรือการจัดงาน Event โดยมีการนำเทคโนโลยี Virtual Live เข้ามาจำลองความเสมือนจริงมากที่สุด แม้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาทำให้การทำงานสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ทุกอย่างจะไม่สามารถทดแทนประสบการณ์จริง หรือความสมจริงแบบที่เราเคยได้สัมผัสหรือเคยได้ดูแบบเดิมได้ แต่อย่างน้อยนี่คือการปรับตัวของอุตสาหกรรมบันเทิงที่ทำให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ในยุคที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 

ส่วนความคาดหวังของสื่อมวลชนในมิติการนำเสนอข่าว เราจะเห็นได้ว่า แม้สื่อจะทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชน แต่ประชาชนก็สามารถตรวจสอบการทำงานของสื่อได้เช่นกัน ในยุคที่ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ การนำเสนอข่าวด้วยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนสามารถเกิดการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง เพราะอย่าลืมว่า ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถเปิดหาข้อมูลและติดตามข่าวสารได้ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ยังสามารถติดตามข่าวสารได้ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นว่าแต่ละประเทศมีการปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19 ณ วันนี้กันอย่างไรบ้าง 

บางประเทศประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติที่มีการปรับตัวในรูปแบบ New Normal เราเห็นชาวอังกฤษได้กลับเข้าไปดูฟุตบอลกันเต็มสนาม เราเห็นที่อเมริกาได้จัดคอนเสิร์ตที่ประชาชนสามารถเข้าไปชมได้ และเรายังเห็นถึงศักยภาพของประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่งจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 และกำลังจัดการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์อยู่ในขณะนี้ 

หันกลับมาที่บ้านเรา ในเดือนนี้กำลังจะมีมาตรการคลายล็อกบางส่วน ซึ่งก็เป็นแนวโน้มที่ดีที่จะทำให้ประชาชน และคนทำงานในอาชีพต่าง ๆ ได้เริ่มกลับมาทำงาน และยังรอคอยอย่างมีความหวังว่าในเร็ววันนี้ สถานการณ์ต่าง ๆ น่าจะดีขึ้น ทำให้ทุกวงการ ทุกอาชีพ ได้กลับมาทำงานอย่างปกติสักที


ข้อมูลอ้างอิง 
https://brandinside.asia/telenor-and-3-mega-trend-after-covid19/


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

งานพิธีเปิด “Tokyo olympic 2020” ที่ผ่านมาหลาย ๆ คนยังคงประทับใจกับแสง สี เสียงที่น่าตื่นตาตื่นใจที่ทางประเทศญี่ปุ่นได้จัด นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงวัฒนธรรมรวมไปถึงเอกลักษณ์บางอย่างในประเทศมาแสดงในพิธีเปิดนี้อีกด้วย

ในช่วงนี้มหกรรมกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิกเกมส์ 2020 กำลังแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ประเทศไทยเรามีเรื่องให้น่ายินดีกันไปแล้วกับเหรียญทองประวัติศาสตร์เหรียญแรกของกีฬาเทควันโด กับน้องเทนนิส พาณิภัค ซึ่งเป็นการเบิกชัยให้กับทัพนักกีฬาไทยเป็นเหรียญแรกของการแข่งขันอีกด้วย ซึ่งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ อย่างที่เราทราบกันว่าต้องจัดขึ้นท่ามกลางโรคระบาดอย่างโควิด-19 ประชาชนในประเทศญี่ปุ่นเองก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นงานมหกรรมกีฬาที่คนทั่วโลกต่างรอคอย และหลาย ๆ คน ยังคงประทับใจจากเมื่อครั้งพิธีปิดโอลิมปิก 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ที่ช่วงของการส่งต่อการเป็นเจ้าภาพที่นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในปี 2016 ขณะนั้น ได้แต่งตัวเป็นมาริโอ ในเกมชื่อดัง "ซูเปอร์ มาริโอ" ร่วมพิธีปิดเพื่อรับช่วงต่อในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2020 เป็นภาพที่หลาย ๆ คนติดตา และคาดหวังว่าในโอลิมปิกเกมส์ที่โตเกียว เราจะได้เห็นพลัง Soft Power หรือวัฒนธรรมป็อปของญี่ปุ่นในการจัดงาน ทำให้ทุกคนรอคอยการจัดโอลิมปิกของญี่ปุ่นในครั้งนี้ 

นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในพิธีปิดโอลิมปิก 2016

แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 อะไรหลาย ๆ อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นได้วางแผนไว้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป บรรยากาศของพิธีเปิดอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ลดความรื่นเริงหรือการเฉลิมฉลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้หายไปไหน คือความเป็นญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น คำที่หลาย ๆ คนอุทานในการชมพิธีเปิดในครั้งนี้ และทำให้ผู้เขียนได้นึกถึงเรื่อง “Soft Power” ที่เคยเขียนไว้ เพราะการจัดงานโอลิมปิกครั้งนี้ก็ปฏิเสธได้เลยว่าญี่ปุ่น ได้ดึง Soft Power ที่โดดเด่นของประเทศมาใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานโอลิมปิกเกมส์ 2020 เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 

เช่น ในช่วง Parade of Athletes ได้นำเพลงจากวิดีโอเกมมาเป็นเพลงเดินเข้าสนามของนักกีฬาในลักษณะเมดเลย์ เช่น Dragon Quest, Final Fantasy, Tales of series, Monster Hunter, Kingdom Hearts, Ace Combat, Sonic the Hedgehog, Winning Eleven (Pro Evolution Soccer) เป็นต้น ในรูปแบบวงออร์เคสตราอย่างยิ่งใหญ่อลังการต้อนรับนักกีฬาแต่ละประเทศ หรือการออกแบบ PLACARDS (ป้ายนำขบวนนักกีฬา) ก็มีการออกแบบเป็นรูป Bubble แบบในมังงะที่เราคุ้นเคยในการอ่านการ์ตูน รวมไปถึงชุดของผู้ถือป้ายนำขบวนแต่ละประเทศที่ออกแบบให้สอดคล้องกับป้าย รวมถึงลำดับการเรียงประเทศที่ใช้ตามตัวอักษรของประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับเกม หรือการ์ตูนของประเทศญี่ปุ่นที่เค้าไม่ได้มองว่าเป็นสื่อที่สร้างความบันเทิง แต่มันคือ Soft Power ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นในการขับเคลื่อนประเทศได้ จึงนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในพิธีเปิดครั้งนี้ 

อีกหนึ่งโชว์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและคลิปถูกแชร์ส่งต่อไปกันในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก คือการแสดงในช่วง LET THE GAMES BEGIN กับการแสดงชุด The History of Pictograms ที่แสดงให้เห็นถึงที่มาของการใช้ Pictograms ในการแข่งขันกีฬา ซึ่งรูปสัญลักษณ์แทนชนิดกีฬานี้ ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อโอลิมปิกที่โตเกียวในปี 1964 ถือเป็นภูมิปัญญาของประเทศญี่ปุ่นที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องของภาษา เป็นประโยชน์ให้กับนักกีฬา และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเจ้าภาพแต่ละประเทศก็จะมีการออกแบบในเวอร์ชันของประเทศตนเอง โดยในการแสดงพิธีเปิด ได้เลียนแบบ Pictograms โดยการใช้การแสดงละครใบ้ผสมผสานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกมาเป็นแนว Creative Performance ที่แสดงภาพสื่อออกมาเป็นชนิดกีฬาต่าง ๆ ถึง 50 ชนิดกีฬา โดยได้คู่หูนักแสดงที่มาแสดงครั้งนี้คือ MASA and hitoshi (GABEZ) ทำให้คนที่ได้ดูนึกถึงเกมซ่าท้ากึ๋น (Kasou Taisho) ที่สร้างความประทับใจให้กับคนดูในช่วงพิธีเปิดได้เป็นอย่างดี และยังถูกพูดถึงในอีกหลายวัน แม้จะผ่านช่วงพิธีเปิดมาแล้วก็ตาม 

แม้ว่าการแสดงพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 จะมีการปรับลดให้เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์ แต่ในการแข่งขันครั้งนี้ เรายังได้เห็นในอีกหลาย ๆ เรื่องที่ชาวญี่ปุ่นได้แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจทั้งผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทั้งการทำเหรียญมาจากโลหะที่รีไซเคิลจากโทรศัพท์มือถือเก่าและขยะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่น ๆ หรือช่อดอกไม้ที่มอบให้กับนักกีฬาคู่กับเหรียญรางวัล ก็นำมาจากดอกไม้ที่ปลูกในพื้นที่ประสบภัยในแถบตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นที่เคยเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสินามิเมื่อปี 2011 

ความเป็นญี่ปุ่น ที่ใช้ Soft Power ยังปรากฏให้เห็นอีกหลายอย่าง เช่น การนำน้องหมีคุมะมง มาสคอตประจำเมืองคุมาโมโตะ ที่คิวชู แปลงร่างเปลี่ยนสีเป็นน้ำเงินร่วมเชียร์กีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นสีโทนเดียวกับโลโก้ประจำการแข่งขันครั้งนี้ 

นอกจากการเชียร์กีฬาที่สนุกสนาน เรามารอลุ้นกันว่า การแสดงพิธีปิดจะมีอะไรให้คนดูได้ประทับใจอีกบ้าง เพราะหากจะพูดถึงวัฒนธรรม J POP และ Soft Power ของญี่ปุ่น ยังมีอีกหลายอย่างที่พวกเราอยากเห็นไม่ว่าจะเป็นด้านเพลง การ์ตูน เกม มังงะ การแสดงต่าง ๆ และที่ลืมไม่ได้เลยคือ การส่งใจเชียร์นักกีฬาไทยในการแข่งขันครั้งนี้ต่อไป... 


ผู้เขียน : อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ (น้ำนุ่น)
อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

‘โตเกียวโอลิมปิก’ สัญลักษณ์ล้านความหมาย สะท้อนแรงบันดาลใจแห่งอำนาจ ‘Soft Power’

ในช่วงนี้มหกรรมกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิกเกมส์ 2020 กำลังแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ประเทศไทยเรามีเรื่องให้น่ายินดีกันไปแล้วกับเหรียญทองประวัติศาสตร์เหรียญแรกของกีฬาเทควันโด กับน้องเทนนิส พาณิภัค ซึ่งเป็นการเบิกชัยให้กับทัพนักกีฬาไทยเป็นเหรียญแรกของการแข่งขันอีกด้วย ซึ่งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ อย่างที่เราทราบกันว่าต้องจัดขึ้นท่ามกลางโรคระบาดอย่างโควิด-19 ประชาชนในประเทศญี่ปุ่นเองก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นงานมหกรรมกีฬาที่คนทั่วโลกต่างรอคอย และหลาย ๆ คน ยังคงประทับใจจากเมื่อครั้งพิธีปิดโอลิมปิก 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ที่ช่วงของการส่งต่อการเป็นเจ้าภาพที่นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในปี 2016 ขณะนั้น ได้แต่งตัวเป็นมาริโอ ในเกมชื่อดัง "ซูเปอร์ มาริโอ" ร่วมพิธีปิดเพื่อรับช่วงต่อในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2020 เป็นภาพที่หลาย ๆ คนติดตา และคาดหวังว่าในโอลิมปิกเกมส์ที่โตเกียว เราจะได้เห็นพลัง Soft Power หรือวัฒนธรรมป็อปของญี่ปุ่นในการจัดงาน ทำให้ทุกคนรอคอยการจัดโอลิมปิกของญี่ปุ่นในครั้งนี้ 

นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในพิธีปิดโอลิมปิก 2016

แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 อะไรหลาย ๆ อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นได้วางแผนไว้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป บรรยากาศของพิธีเปิดอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ลดความรื่นเริงหรือการเฉลิมฉลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้หายไปไหน คือความเป็นญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น คำที่หลาย ๆ คนอุทานในการชมพิธีเปิดในครั้งนี้ และทำให้ผู้เขียนได้นึกถึงเรื่อง “Soft Power” ที่เคยเขียนไว้ เพราะการจัดงานโอลิมปิกครั้งนี้ก็ปฏิเสธได้เลยว่าญี่ปุ่น ได้ดึง Soft Power ที่โดดเด่นของประเทศมาใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานโอลิมปิกเกมส์ 2020 เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 

เช่น ในช่วง Parade of Athletes ได้นำเพลงจากวิดีโอเกมมาเป็นเพลงเดินเข้าสนามของนักกีฬาในลักษณะเมดเลย์ เช่น Dragon Quest, Final Fantasy, Tales of series, Monster Hunter, Kingdom Hearts, Ace Combat, Sonic the Hedgehog, Winning Eleven (Pro Evolution Soccer) เป็นต้น ในรูปแบบวงออร์เคสตราอย่างยิ่งใหญ่อลังการต้อนรับนักกีฬาแต่ละประเทศ หรือการออกแบบ PLACARDS (ป้ายนำขบวนนักกีฬา) ก็มีการออกแบบเป็นรูป Bubble แบบในมังงะที่เราคุ้นเคยในการอ่านการ์ตูน รวมไปถึงชุดของผู้ถือป้ายนำขบวนแต่ละประเทศที่ออกแบบให้สอดคล้องกับป้าย รวมถึงลำดับการเรียงประเทศที่ใช้ตามตัวอักษรของประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับเกม หรือการ์ตูนของประเทศญี่ปุ่นที่เค้าไม่ได้มองว่าเป็นสื่อที่สร้างความบันเทิง แต่มันคือ Soft Power ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นในการขับเคลื่อนประเทศได้ จึงนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในพิธีเปิดครั้งนี้ 

อีกหนึ่งโชว์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและคลิปถูกแชร์ส่งต่อไปกันในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก คือการแสดงในช่วง LET THE GAMES BEGIN กับการแสดงชุด The History of Pictograms ที่แสดงให้เห็นถึงที่มาของการใช้ Pictograms ในการแข่งขันกีฬา ซึ่งรูปสัญลักษณ์แทนชนิดกีฬานี้ ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อโอลิมปิกที่โตเกียวในปี 1964 ถือเป็นภูมิปัญญาของประเทศญี่ปุ่นที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องของภาษา เป็นประโยชน์ให้กับนักกีฬา และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเจ้าภาพแต่ละประเทศก็จะมีการออกแบบในเวอร์ชันของประเทศตนเอง โดยในการแสดงพิธีเปิด ได้เลียนแบบ Pictograms โดยการใช้การแสดงละครใบ้ผสมผสานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกมาเป็นแนว Creative Performance ที่แสดงภาพสื่อออกมาเป็นชนิดกีฬาต่าง ๆ ถึง 50 ชนิดกีฬา โดยได้คู่หูนักแสดงที่มาแสดงครั้งนี้คือ MASA and hitoshi (GABEZ) ทำให้คนที่ได้ดูนึกถึงเกมซ่าท้ากึ๋น (Kasou Taisho) ที่สร้างความประทับใจให้กับคนดูในช่วงพิธีเปิดได้เป็นอย่างดี และยังถูกพูดถึงในอีกหลายวัน แม้จะผ่านช่วงพิธีเปิดมาแล้วก็ตาม 

แม้ว่าการแสดงพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 จะมีการปรับลดให้เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์ แต่ในการแข่งขันครั้งนี้ เรายังได้เห็นในอีกหลาย ๆ เรื่องที่ชาวญี่ปุ่นได้แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจทั้งผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทั้งการทำเหรียญมาจากโลหะที่รีไซเคิลจากโทรศัพท์มือถือเก่าและขยะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่น ๆ หรือช่อดอกไม้ที่มอบให้กับนักกีฬาคู่กับเหรียญรางวัล ก็นำมาจากดอกไม้ที่ปลูกในพื้นที่ประสบภัยในแถบตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นที่เคยเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสินามิเมื่อปี 2011 

ความเป็นญี่ปุ่น ที่ใช้ Soft Power ยังปรากฏให้เห็นอีกหลายอย่าง เช่น การนำน้องหมีคุมะมง มาสคอตประจำเมืองคุมาโมโตะ ที่คิวชู แปลงร่างเปลี่ยนสีเป็นน้ำเงินร่วมเชียร์กีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นสีโทนเดียวกับโลโก้ประจำการแข่งขันครั้งนี้ 

นอกจากการเชียร์กีฬาที่สนุกสนาน เรามารอลุ้นกันว่า การแสดงพิธีปิดจะมีอะไรให้คนดูได้ประทับใจอีกบ้าง เพราะหากจะพูดถึงวัฒนธรรม J POP และ Soft Power ของญี่ปุ่น ยังมีอีกหลายอย่างที่พวกเราอยากเห็นไม่ว่าจะเป็นด้านเพลง การ์ตูน เกม มังงะ การแสดงต่าง ๆ และที่ลืมไม่ได้เลยคือ การส่งใจเชียร์นักกีฬาไทยในการแข่งขันครั้งนี้ต่อไป... 


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

แม้ว่าละครในจอแก้ว ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าละครที่ถ่ายทอดออกมาเป็นการแสดงที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ก็เป็นสื่อที่อาจจะส่งผลและมีอิทธิพลต่อคนดู

ละครโทรทัศน์ คือ ความบันเทิงในรูปแบบหนึ่งที่อยู่คู่กับจอแก้วมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคแอนะล็อกมาจนถึงการออกอากาศระบบดิจิทัล หลังจากที่มีช่องโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้คนดูมีทางเลือกในการรับชมละครเพิ่มมากขึ้น และข้อที่ยังยืนยันได้ว่าละครโทรทัศน์ยังเป็นรายการที่ได้รับความนิยม ก็จากการจัดเรตติงของเนลสัน ที่พบว่า ละครโทรทัศน์ ยังคงเป็นรายการที่มีผู้รับชมสูงสุดของแต่ละสถานี และเป็นจุดขายของแต่ละสถานีในการช่วงชิงพื้นที่เรตติงหลังข่าวภาคค่ำ

โดยความคาดหวังของละครโทรทัศน์ในมุมคนดู ก็มีหลายเหตุผล เช่น เพื่อความเพลิดเพลิน ให้ความบันเทิงกับคนดู หรือเพื่อหลักหนีจากโลกความจริงไปสู่โลกจินตนาการ เราอาจจะเป็นนางเอกนิยายในชีวิตจริงไม่ได้แต่เราเป็นได้ในโลกละคร

นอกจากนี้บางครั้งละครก็ถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนสังคม ให้แง่คิด และเปลี่ยนแปลงสังคมได้ และละครก็จะถูกตรวจสอบจากคนดูได้เช่นกันหากพบว่าเนื้อหามีความไม่เหมาะสม เช่นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีกระแสแบนละครเมียจำเป็น ทางช่อง 3 ที่ถูกพุ่งเป้าไปที่บทละครที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ทำให้เกิด hashtag #แบนเมียจำเป็น #ข่มขืนผ่านจอพอกันที ซึ่งขึ้นเทรนด์อันดับ 1 และ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยในช่วงเวลานั้น

ประเด็นเนื้อหาที่ถูกพูดถึง เช่น การใส่ฉากข่มขืนในละคร พระเอกรังเกียจนางเอกที่ถูกขืนใจ แม้กระแสในโลกโซเชียลจะถูกตั้งคำถามถึงความไม่เหมาะสมของเรื่องราว แต่ดูเหมือนว่าเรตติงตอนจบจะสวนทางกับกระแสสังคม ที่สามารถโกยเรตติงไปได้ทั่วประเทศถึง 4.7 ขณะที่ยอดชมทางออนไลน์ ก็กวาดยอดวิวรวมกัน 2 แพลตฟอร์มไปได้กว่า 500,000 วิว (TrueID, 3+)

หากเรามองว่าละคร สามารถเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่สามารถเป็นเครื่องมือในการสอนหรือกล่อมเกลาสังคมได้ การมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมออกฉาย อาจจะทำให้เกิดการเลียนแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโลกความจริงที่คู่ขนานมากับโลกของละคร ผ่านการเลียนแบบตามหลักจิตวิทยา ที่มีทั้งรูปแบบของการเลียนแบบภายใน (Identification) ที่อาจจะเป็นสิ่งที่สังเกตได้ยากและต้องใช้เวลา และการเลียนแบบภายนอก (Imitation) ซึ่งการเลียนแบบภายนอกเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้อย่างง่ายและชัดเจน เช่น เด็กที่ดูเซเลอร์มูนแล้วทำท่าแปลงร่างตาม

หรือแม้แต่การเลียนแบบงานในสื่อมวลชน ที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายจากการเรียนรู้ร่วมไปกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เราอาจจะรู้ว่าการขับรถยนต์ขับยังไงจากการดูละคร ทั้งๆ ที่ในชีวิตจริงของเราอาจจะไม่เคยขับรถยนต์มาก่อน เรียกว่า Observation Learning หรือถ้าละครได้นำเสนอบทลงโทษของคนที่ทำผิด ผู้ที่รับชมอาจจะรู้สึกคล้ายกับว่าตนเองได้รับบทลงโทษไปด้วย และจะไม่กล้าทำตามที่นักแสดงทำ เรียกว่า Inhibitory Effect ซึ่งก็มีงานวิจัยมากมายที่ออกมาสนับสนุนแนวคิดเหล่านี้พอสมควร

ดังนั้น แม้ว่าละครอยู่ในจอแก้ว ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าละครที่ถ่ายทอดออกมาเป็นการแสดงที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ก็เป็นสื่อที่อาจจะส่งผลและมีอิทธิพลต่อคนดู จึงต้องถูกคาดหวังตามมาว่าจะสามารถให้คติหรือสอนคนดูได้เช่นกัน
.
เขียนโดย: อาจารย์อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ (น้ำนุ่น) อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ที่มา:
Bandura, A., (1997). Social Learning Theory. America: New Jersey.
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์
Instagram : @klink.official
https://www.thairath.co.th/entertain/news/2029213

“ดารา” กับต้นทุนที่ไม่ใช่แค่หน้าตา แต่พ่วงมาด้วยทักษะ “ทุนร่างกาย” ที่สามารถต่อยอดการทำงานได้

ดารา นักแสดง ในวงการบันเทิง นอกจากความสามารถในการแสดง การร้องเพลง การเล่นดนตรีแล้ว การมีทักษะความสามารถพิเศษอื่น ๆ ที่เสริมเข้ามา เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำงาน เช่น การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา ก็เป็นงานอดิเรกที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ เนื่องจากการทำอาชีพนักร้อง นักแสดง ต้องใช้ร่างกายในการทำงาน ทำให้การดูแลรูปร่างเป็นสิ่งที่คู่กันกับคนในวงการบันเทิง 

แต่บางคนพัฒนาทักษะการออกกำลังกายโดยการยกระดับความจริงจังไปจนถึงการฝึกฝนจนเป็นกีฬา ซึ่งจะมีระดับการฝึกฝนที่เข้มข้นและจริงจังกว่าแค่การออกกำลังกายเพื่อดูแลรูปร่าง และถึงแม้ว่าจะไม่ถึงระดับการแข่งขันกีฬาเป็นอาชีพ แต่สิ่งที่พวกเค้าเหล่านั้นได้ฝึกฝนมา กลายเป็น “ทุน” ติดตัวของตนเองที่สามารถสร้างรายได้ได้อีกหนึ่งช่องทางหนึ่ง 

หากพูดถึงกีฬาที่ดารา นักแสดง หรือแม้แต่คนธรรมดาเข้าได้ถึงได้ และในช่วงหนึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ต้องยกให้กับการวิ่ง ซึ่งบางคนพัฒนาไปจนถึงการวิ่งมาราธอน ได้รับการนำเสนอภาพลักษณ์ของกีฬาควบคู่ไปกับผลงานในวงการบันเทิง เช่น ตูน บอดี้แสลม, ณัฐ ศักดาทร, แมทธิว ดีน, โย ยศวดี เป็นต้น 

ความสำเร็จเบื้องต้น ดูได้จากการที่ดาราในวงการบันเทิงได้รับเลือกให้เป็น Influencer ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกีฬา หรือเครื่องดื่มชูกำลัง ไปจนถึงการเป็นพรีเซนเตอร์งานวิ่งมาราธอนต่าง ๆ ที่เป็นงานทางด้านกีฬา แต่ให้การยอมรับคนในวงการบันเทิงมาช่วงชิงพื้นที่ 

ซึ่งการที่จะพัฒนาไปสู่ความสำเร็จในการเล่นกีฬาได้นั้น ทุกคนต้องผ่านการฝึกฝนด้วยตนเอง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ไม่มีคำว่าปาฏิหาริย์ หรือ ฟลุ๊ค แต่มันคือทักษะ และ “ทุนร่างกาย” ที่ต้องสร้างมันขึ้นมาเหมือนกับทักษะความสามารถในวงการบันเทิง อาจจะแตกต่างกับการทำงานในวงการบันเทิง ที่เมื่อดารา นักแสดง นักร้อง มีผลงานออกมา จะมีคนดูหรือคนฟังเป็นผู้ตัดสิน ความสามารถเราขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคนอื่น 

แต่สำหรับเส้นทางของการเล่นกีฬานั้น ความสำเร็จ...มาจาก “ตัวเอง” การเป็นดารา คนดัง ในวงการบันเทิงมาก่อน ไม่ได้มีผลกับการเล่นกีฬา เพราะทุกคนต้องเริ่มฝึกฝนและพัฒนาตนเองใหม่หมด บางคนฝึกซ้อมกับโค้ชอย่างจริงจัง ใช้วิธีการฝึกซ้อมเช่นเดียวกันกับที่นักกีฬาอาชีพทำ สิ่งที่แตกต่างกันคือความยืดหยุ่นที่อาจจะต้องปรับให้เข้ากับการทำงานในวงการบันเทิง 

มนต์เสน่ห์ของการวิ่งมาราธอน ที่ทำให้คนดังในวงการบันเทิงสนใจและติดใจ หลาย ๆ คนเคยให้สัมภาษณ์ไว้คล้าย ๆ กันว่า มาราธอน มันคือความสนุกที่ได้ชนะใจตัวเอง และความภูมิใจที่ทำได้ แม้ในครั้งแรกที่ไปวิ่ง จะรู้สึกถึงความเหนื่อย ความทรมาน ทำไมทำไม่ได้ดีแบบที่คิดไว้ เพราะบางคนเล่นฟิตเนส ออกกำลังกายอยู่แล้ว แต่เมื่อมาสนามวิ่ง ร่างกายกลับไม่สามารถตอบสนองได้อย่างที่ใจเราต้องการ เพราะมันคือการต่อสู้กันระหว่าง จิตใจและร่างกาย และการที่ได้ชนะใจตนเองนี่แหละ คือ แรงจูงใจอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความท้าทายให้กับตัวเอง โดยเราสามารถเป็นคนที่เก่งขึ้นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร เพราะแต่ละคน มีต้นทุนในการสร้างร่างกายและการฝึกฝนมาต่างกัน แค่ชนะตัวเองในอดีตได้ ก็ถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จในการวิ่งมาราธอนแล้ว 


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เสียงสะท้อนแห่งความหวัง เหล่า​ 'คนดัง'​ ผู้พังกำแพงแห่งความสับสน​ 'ฉีด​-​ไม่ฉีดวัคซีน'​

ในช่วงนี้เราจะเห็นกระแสคนดังออกมารณรงค์เรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันมากขึ้น​ แม้ว่าระบบการจัดการวัคซีนของบ้านเราอาจจะยังไม่พร้อมที่จะรองรับการฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งประเทศ ซึ่งนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ภาครัฐต้องเร่งจัดการให้เร็วที่สุด 

แต่ในมิติของการสื่อสาร การที่คนดัง (Celebrity) ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ มีผลเปลี่ยนแปลงต่อความคิดคนอย่างไรบ้าง? 

เราได้เห็นตัวอย่างว่ามีคนเปลี่ยนใจที่จะฉีดวัคซีนจากการฟังคนที่มีชื่อเสียงพูด เช่น คุณแม่ทองสุข คุณแม่ของพี่โน้ต อุดม ได้ฟังคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา กลับมาจัดรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ที่มีการพูดถึงเรื่องวัคซีนพร้อมกับเชิญชวนให้ทุกคนไปฉีด ทำให้คุณแม่เปลี่ยนใจอยากไปฉีดวัคซีนจากตอนแรกที่ไม่อยากไปฉีด 

เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ เพราะมันคือหลักการเดียวกันกับการโฆษณาที่ใช้คนดังหรือบุคคลทีมีชื่อเสียงมาเชิญชวน ซึ่งมีงานวิจัยมากมายที่ได้ศึกษาถึงเรื่องศิลปินที่มีชื่อเสียง สามารถชักจูงความคิด ความเชื่อ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือเปลี่ยนลักษณะนิสัย 

การเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะคนในวงการบันเทิง นอกจากสร้างผลงานเพื่อมอบความบันเทิงให้กับคนดูได้แล้ว อีกด้านหนึ่งคือสามารถเป็นผู้นำทางความคิด (Opinion leader) และสามารถชี้นำสังคมได้ อีกทั้งสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดผู้คนที่ติดตามได้​ แม้อาจจะเป็นแค่ทำให้ฉุกคิดตามก็เถอะ

เราจะเห็นว่าในสถานการณ์หลาย ๆ ครั้งที่ต้องการความช่วยเหลือในการกระจายข่าวสาร มักจะมีคนดังออกมาช่วยพูด เพราะเสียงของบุคคลที่มีชื่อเสียง “ดัง” และสามารถชี้นำสังคมได้ เช่นเดียวกับครั้งนี้ที่เราเห็นคนดัง ออกมาพูดเรื่องการฉีดวัคซีน แต่สิ่งที่ต้องระวังในการให้ข้อมูล คือ ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ตรวจสอบได้ เพราะเรื่องการฉีดวัคซีนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและส่งผลต่อชีวิตและร่างกาย

มาถึงตอนนี้ เสียงของคนดัง ดังพอที่ประชาชนเริ่มหันมาสนใจเรื่องของการฉีดวัคซีนแล้ว แต่คงจะดีไม่น้อย ถ้าการกระจายวัคซีนของภาครัฐสามารถจัดการให้กับคนในประเทศได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วพอ ๆ​ กับเสียงของคนดังเหล่านั้น

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.sanook.com/news/8380622/


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ถอดรหัส​ 'วันทอง'​ รอยต่อ​ ​'ความสำเร็จ'​ ของช่องวัน ขึ้นแท่น “นัมเบอร์วัน” ละครหลังข่าว

ปรากฏการณ์ละครเรื่อง “วันทอง” ของช่อง ONE31 ที่จบไปเมื่อช่วง 20 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้วงการละครหลังข่าวกลับมาคึกคักอีกครั้ง กับการทำเรตติ้งตอนจบด้วยการทะยานขึ้นเป็นที่ 1 ด้วยตัวเลข 7.767 (ทั่วประเทศ)  และ 9.280 (กรุงเทพฯ) ประสบความสำเร็จที่วัดออกมาได้จากเรตติ้งในยุคที่ช่องไหนก็ต้องการ และเป็นเรตติ้งละครหลังข่าวของช่องวันที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งช่องมา ส่งผลให้ช่องวันขยับเรตติ้งแซงช่อง Mono 29 มาเป็นที่ 3 ประจำสัปดาห์ของวันที่ 19-25 เมษายน 2564 เพราะละครเย็นของช่องวันก็มีเรตติ้งแรงดีไม่มีตกเช่นกัน กับละครเรื่องดงพญาเย็น นอกจากเรตติ้งทางทีวี ในตอนจบของวันทอง โลกออนไลน์ก็ร้อนแรงด้วยการติดเทรนด์ Twitter ที่ 1 ประเทศไทย และที่ 3 เทรนด์โลก, เทรนด์ Youtube อันดับ 1 ฉากประหารวันทอง, เทรนด์ Google อันดับ 1 คำค้นหา วันทองตอนจบ รวมไปถึง TikTok ที่มียอดวิวรวม 500 ล้านวิว 

การได้มาของเรตติ้งและการถูกพูดถึงในโลกออนไลน์อย่างถล่มทลาย คงไม่ใช่ความบังเอิญอย่างแน่นอน หากย้อนดูตั้งแต่การโปรโมทก่อนที่ละครจะออกอากาศ ทั้งโลโก้ช่องวันที่ทำเฉพาะกิจให้สอดคล้องกับละคร รวมถึงเพลงประกอบละคร “เพลงสองใจ” ที่ได้นักร้องคุณภาพอย่าง ดา เอ็นโดรฟิน มาถ่ายทอดความรู้สึกของวันทองให้คนดูได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น กับท่อนติดหูอย่าง “ใครจะอยากเป็นคนไม่ดี ผิดที่ใจไม่จำว่ามันไม่ควรรักใคร” ปล่อยออกมาให้คนฟังได้ฟังก่อนละครจะออกอากาศเกือบครึ่งเดือน และความสำเร็จของเพลงนี้ ส่งผลให้เพลงสองใจใน Youtube ทะลุ 100 ล้านวิวเพียงแค่ 41 วัน กลายเป็นเพลงไทยสากลที่ทำยอดวิวทะลุร้อยล้านวิวได้เร็วที่สุด แม้ว่าละครจะจบไปแล้ว เพลงสองใจยังได้รับความนิยมทั้งการเปิดในวิทยุ และการฟังผ่านทาง Music Streaming ซึ่งตัวเลข 200 ล้านวิวไม่น่าไกลสำหรับเพลงนี้ 

อีกหนึ่งกลยุทธ์ของช่องวันคือ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 10-12 เมษายน 2564 ที่ช่องวัน ได้นำละครเรื่อง วันทอง มาฉายแบบมาราธอน ซึ่งช่องวันเคยทำแบบนี้กับละครหลาย ๆ เรื่องมาแล้ว ทำให้คนที่อาจจะไม่ได้ติดตามดูมาตั้งแต่ตอนแรก ได้ดูย้อนหลังไปพร้อมกันก่อนที่จะเข้าสู่ตอนจบ 2 ตอนสุดท้าย ซึ่งก่อนที่จะฉายตอนจบ ด้วยสโลแกน “อย่าไว้ใจช่องวัน” ทำให้เกิดการถกเถียงในในโลกออนไลน์ ว่าจะจบอย่างไร จะโดนใจคนดูหรือไม่ คนดูน่าจะได้คำตอบแล้วว่า ช่องวันไว้ใจได้หรือไม่ (ฮ่า ๆ ๆ) แต่นี่คือกลวิธีในการนำเสนอที่ทีมทำละคร พยายามทำให้คนดูได้ลุ้นและติดตามจนกระทั่ง Break สุดท้ายของละครจริง ๆ

ความสำเร็จในครั้งนี้ นอกจากกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่กล่าวไป ความสนุกของละครเรื่องนี้ต้องยกความดีความชอบให้กับทีมผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ ผู้กำกับละคร ทีมนักแสดงที่แสดงได้ดีทุกบทบาท ทั้งนักแสดงหลักและนักแสดงสมทบ และทีมเขียนบท กับการนำเสนอตีความของวันทองแบบใหม่ ได้อย่างสนุก ครบรส สอดแทรกแง่คิด และคุยในประเด็นที่ประชากรโลกกำลังคุยกัน สิ่งที่พลเมืองโลกสนใจ เช่น เรื่องความเสมอภาค, สิทธิเสรีภาพ, Women Empowerment และแง่คิดเรื่องการใช้ชีวิตในครอบครัว นี่น่าจะเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จละครไทย ที่ก้าวข้ามผ่านการนำเสนอและกล้าตีความแบบใหม่ ๆ ในการพยายามสื่อสารกับคนดูในครั้งนี้ ความสำเร็จจะสะท้อนออกมาเองจากกระแสตอบรับของคนดู โดยเฉพาะการพูดถึงในโลกออนไลน์ กับเนื้อหาในช่วงตอนสุดท้ายของละคร ที่มีการนำคำพูดของตัวละครมาถกกันต่อในหลายประเด็น เป็นการดูละครในยุคใหม่ ที่มีการ Interactive ผ่านสื่อออนไลน์ได้อย่างทันท่วงที ... และสุดท้าย ละครเรื่องนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้ วรรณคดีสุดคลาสสิกของไทย ที่ถูกเล่าได้อย่างสนุกสนาน สอดแทรกวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของไทยในอดีต ในแบบที่เราพยายามผลักดันความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย หรือ Soft Power ไทยของเรา ซึ่งนี่น่าจะเป็นกรณีศึกษาได้ว่าละคร หรือสื่อบันเทิงไทยของเรา ควรทำยังไงให้ความเป็นไทย ถูกสื่อสารออกมาได้อย่างสนุกและไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดความเป็นไทยแบบพร่ำเพรื่อ 


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.tvdigitalwatch.com/rating-19-25-apr64/
https://www.thaipost.net/main/detail/97877
ขอบคุณรูปภาพจาก  IG : @one31thailand

“เมื่อ...เลือกทำในสิ่งที่รัก ไม่ใช่สิ่งที่เรียนมา”

“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” ประโยคที่ทุกคนในวัยเด็กต้องผ่านการตอบคำถามนี้ ประกอบกับท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และจนถึงวันนี้ที่เราต้องอยู่ในสภาวะปกติใหม่ (New Normal) ทำให้อาชีพทุกวันนี้ หลากหลายและมีทางเลือกมากขึ้น บางคนได้ทำในสิ่งที่เรียนมาตรงสาย บางคนอาจจะค้นพบตัวเองหลังจากที่เรียนจบแล้ว ในความเป็นจริงไม่มีสูตรตายตัวสำหรับโลกของการทำงาน

แต่เราต้องทำตัวเองให้พร้อม เพื่อจะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ศิลปิน ดารา นักแสดงหลาย ๆ คน ก็ไม่ได้เรียนมาทางนิเทศศาสตร์ แต่ผันตัวเองมาสู่การทำงานในวงการบันเทิง เช่น โดม จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม จบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์

แต่ด้วยความรักในเสียงเพลง ทำให้โดม ก็มุ่งมั่นงานวงการบันเทิง จนปัจจุบันเปิดค่ายเพลงเป็นของตัวเองกับค่าย LIT ENTERTAINMENT ปั้นเด็กใหม่ให้วงการ T-POP แม้เจ้าตัวจะไม่ได้เรียนทางสายดนตรีมา แต่เก็บเกี่ยวจากประสบการณ์การทำงานมาใช้ในการบริการค่ายเพลง และยังได้นำความรู้จากตอนเรียนมาช่วยเรื่องการทำสัญญา เรื่องลิขสิทธิ์เพลง และแนวคิดในการใช้ชีวิตเรื่องของเหตุและผลต่าง ๆ ที่ปรับเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ที่เราเรียนมาก็ไม่ได้หล่นหายไปไหน เพียงแค่ความรู้ถูกแปลงไปใช้งานตามสถานการณ์ที่เราได้เจอ เช่นเดียวกันกับอีกหนึ่งศิลปินที่เรียนมาคนละสายกับงานที่ทำในปัจจุบัน ได้แก่ ณัฐ ศักดาทร จบมาทางด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และก้าวเข้ามาสู่วงการบันเทิง ในการเป็นนักร้อง นักแสดง โดยในงานประชุมวิชาการ “นักเศรษฐศาสตร์และผองเพื่อน” ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศีนครินทร์วิโรฒ ณัฐ ศักดาทร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ตอนที่เลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ เป็นสาขาที่คิดว่าน่าจะสามารถไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่ต่าง ๆ ได้ง่ายในชีวิต โดยสิ่งที่เรียนมาแล้วได้ใช้ในชีวิตประจำวันจริง ๆ ทุกวันเลยคือเรื่อง opportunity cost (ต้นทุนค่าเสียโอกาส) การเลือกซื้อของบางอย่าง เราก็จะต้องแลกกับเงินที่จะไม่ได้ซื้อของบางอย่าง เพราะเรามีทรัพยากรที่จำกัด ซึ่งทรัพยากรตรงนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่รวมถึงเรื่องเวลาด้วย คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน อยู่ที่เราเลือกที่จะทำอะไร ถ้าเราเลือกที่จะเล่นโซเชียลมีเดีย เราก็อาจจะเสียโอกาสในการออกกำลังกาย หรือการพัฒนาทักษะอื่น ๆ” ซึ่งก่อนหน้านี้ ในรายการตามสัญญา ทางช่อง PPTV ณัฐ ศักดาทร ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เคยติดโซเชียลมีเดีย ถึงขั้นต้องพบจิตแพทย์มาแล้ว ดังนั้น การนำหลักคิดเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาสมาใช้ บางทีก็ทำให้เราแยกออกว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรที่จะต้องทำมากกว่ากัน

ณัฐ ศักดาทร ยังทิ้งท้ายไว้ในงานประชุมวิชาการว่า “การเรียนเศรษศาสตร์มาทำให้เรามีความคิดแบบนี้ตลอดเวลา ในการคิดเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาส และการเรียนเศรษฐศาสตร์พอเข้ามาทำงานในวงการบันเทิง มันยังอยู่ในกระบวนการคิดทุก ๆ วัน และการทำงานในวงการบันเทิงมันมีอะไรที่สนับสนุนกันอยู่”

แม้วันนี้ หลาย ๆ คนที่เรียนจบไปแล้ว เราอาจจะไม่ได้เรียนมาตรงกับสิ่งที่เราชอบ หรือไม่ได้ทำตามคำตอบของคำถามที่ว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” แต่เราสามารถพาตัวเองไปอยู่ในสิ่งที่เราชอบได้ ฝึกฝน เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ เพื่อให้เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก และความรู้ที่เกิดขึ้นที่เราได้สั่งสมมา วันนี้อาจจะยังไม่ได้หยิบมันขึ้นมาใช้งาน แต่ไม่แน่ว่าอนาคตข้างหน้า เราอาจจะได้รื้อฟื้นกล่องความทรงจำความรู้นั้น ๆ มาใช้แบบไม่รู้ตัว ...


ข้อมูลอ้างอิง

สัมภาษณ์ : จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม

https://www.pptvhd36.com/programs/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2/79328#part-1

https://www.sanook.com/campus/1404051/


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top